นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์มีการใช้งานคุกกี้ประเภทที่จำเป็น (Strictly necessary cookies) เพื่อให้เว็บ KhunLook ทำงานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทนี้ขณะที่ใช้งานเว็บ KhunLook โปรดกด "รับทราบ" เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่อ

เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก X

วัคซีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 27 กันยายน 2565

Covid-19

วัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่แนะนำ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัคซีนที่อนุมัติให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทยได้แก่ Covid-19 AstraZeneca, Pfizer/BioNTech, Moderna, Sinovac, Sinopharm (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2564)

จำนวนเข็มและอายุที่แนะนำให้ฉีด

  • หญิงตั้งครรภ์ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-12 สัปดาห์ แนะนำให้ฉีดเข็มแรกเมื่ออายุครรภ์ > 12 สัปดาห์
  • กรณีฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ก่อนที่จะทราบว่าตั้งครรภ์ ให้รับเข็ม 2 ตามเวลาระบุของชนิดวัคซีนและรออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์
  • หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกหลังหายจากโรคแล้ว 3 เดือน
  • ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ยกเว้นวัคซีนดังกล่าวมีความจำเป็นต้องฉีดตามเวลาอย่างเคร่งครัด เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากไม่จำเป็นเร่งด่วน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ชนิดของวัคซีนและตารางการฉีดอาจปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ในบางกรณีอาจมีการเลื่อนช่วงอายุครรภ์ที่ควรได้รับวัคซีน ทั้งนี้ขึ้นกับกำหนดการของสถานให้บริการทางสาธารณสุขนั้น ๆ

วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) หรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA, mRNA)

Covid-19 Pfizer/BioNTech (10 ไมโครกรัม) (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 5-11 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-12 สัปดาห์

Covid-19 Pfizer/BioNTech (30 ไมโครกรัม) (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-12 สัปดาห์

Covid-19 Moderna (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565) สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (recombinant viral vector vaccine)

Covid-19 AstraZeneca (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4-12 สัปดาห์

Covid-19 CanSinoBio (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 1 เข็ม

Covid-19 Johnson & Johnson (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 1 เข็ม

Covid-19 Sputnik V (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (protein subunit vaccine)

Covid-19 Novavax (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine)

Covid-19 Sinovac (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565)

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

Covid-19 Sinopharm (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565) สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

Covid-19 Bharat (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2565) สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แนะนำให้ได้เมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

Influenza

วัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ Influenza

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่แนะนำ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะได้รับการป้องกันโรค และแนะนำอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด (รวมหอบหืด) โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น

จำนวนเข็มและอายุที่แนะนำให้ฉีด หญิงตั้งครรภ์ควรฉีด 1 เข็ม เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยทั่วไปแนะนำเมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ในบางกรณีอาจมีการเลื่อนช่วงอายุที่ควรได้รับวัคซีน ทั้งนี้ขึ้นกับกำหนดการของสถานให้บริการทางสาธารณสุขนั้น ๆ

dT และ Tdap

วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก (dT) และวัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap)

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่แนะนำ

  • หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน หรือฉีดวัคซีน dT ครั้งสุดท้ายเกิน 10 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีน 3 เข็ม โดย
    • ฉีดวัคซีน (dT) เป็นเข็มที่ 1 เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีน dT เข็มแรกที่อายุครรภ์ 23 สัปดาห์เป็นต้นไป
    • ฉีดวัคซีน Tdap เป็นเข็มที่ 2 (ทดแทน dT เข็มที่ 2) ห่างจากเข็มแรก 4-6 สัปดาห์ ที่อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เพื่อช่วยส่งผ่านภูมิไปคุ้มกันไปยังทารก
    • ฉีดวัคซีน dT เป็นเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน หรือพิจารณาฉีดเข็มที่ 3 หลังคลอด จากนั้นให้ฉีดกระตุ้นด้วย dT (Td) หรือ Tdap ทุก 10 ปี
  • หญิงตั้งครรภ์ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบ 3 เข็มมาก่อน และฉีดวัคซีน dT ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 10 ปี แนะนำให้ฉีด Tdap เป็นเข็มกระตุ้นในทุกการตั้งครรภ์ 1 เข็ม ที่อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เพื่อช่วยส่งผ่านภูมิไปคุ้มกันไปยังทารก
  • ในบางกรณีอาจมีการเลื่อนช่วงอายุที่ควรได้รับวัคซีน ทั้งนี้ขึ้นกับกำหนดการของสถานให้บริการทางสาธารณสุขนั้น ๆ

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • สำหรับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ควรปรึกษาบุคลากรทางสาธารณสุขก่อนฉีดและควรแจ้งแพทย์ว่าตั้งครรภ์ ก่อนรับวัคซีนทุกครั้ง
  • ควรนำสมุดบันทึกสุขภาพและการรับวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง ขอรับการบันทึกข้อมูลทุกครั้ง และเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
  • หากมีไข้สูงควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน แต่หากเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด หรือมีน้ำมูกไหล สามารถรับวัคซีนได้
  • หากได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดในช่วงเวลา 6-12 เดือนที่ผ่านมา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเสมอ
  • ควรแจ้งแพทย์ก่อนรับวัคซีน หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคที่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน โรคที่ต้องกินยาที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันเช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ เคมีบำบัด โรคทางระบบประสาท เช่น ลมชัก ฯลฯ
  • เพื่อประโยชน์สูงสุด ควรไปรับวัคซีนตามนัดทุกครั้ง หากลืม ควรพาไปรับวัคซีนทันทีเมื่อนึกได้ โดยสามารถฉีดวัคซีนต่อได้เลย ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นนับใหม่
  • ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนส่วนใหญ่ไม่รุนแรง อาจพบว่ามีไข้หรืออาการเจ็บตรงบริเวณที่ฉีดได้ แต่หากมีอาการผิดปกติเช่น มีผื่น ไข้สูง ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หายใจลำบาก เสียงแหบ หอบ ซีด อ่อนเพลีย บวม ควรพาไปพบแพทย์ทันที
  • ในบางกรณีอาจมีการเลื่อนช่วงอายุที่ควรได้รับวัคซีน ทั้งนี้ขึ้นกับกำหนดการของสถานให้บริการทางสาธารณสุขนั้น ๆ

เรียบเรียงโดย: นพ. นราทัศพล ลิขิตดี นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล พญ.รสวันต์ อารีมิตร พญ.ผกากรอง ลุมพิกานนท์
แหล่งข้อมูล: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย และข้อมูลวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น