อุปกรณ์ ของเล่นและการป้องกันอุบัติเหตุของลูกวัย 1-3 ปี

☛ หากนั่งรถยนต์ควรนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (car
seat)ที่ได้มาตรฐานทุกครั้งตลอดการเดินทาง
โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด
ซึ่งที่นั่งนิรภัยควรติดตั้งไว้ที่เบาะหลังของรถ
และหันหน้าลูกไปทางหลังรถจนกว่าลูกจะมีน้ำหนักหรือส่วนสูงเกินข้อกำหนดของผู้ผลิตที่นั่งนิรภัย หรืออายุเกิน 2 ปี
จึงจะปรับหันหน้าลูกไปด้านหน้ารถ
☛ วัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและอาจเริ่มปฏิเสธ เช่น
เดิมเคยยอมนั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (car seat) ลูกอาจจะเริ่มไม่ยอมนั่ง
ผู้โดยสารทุกคนควรคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูกและควรฝึกให้ลูกนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตร
และปฏิบัติเหมือนเดิมทุกครั้ง
☛ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
หากทุกคนในรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัยและลูกไม่นั่งในที่นั่งนิรภัยไม่ควรติดเครื่องยนต์
☛ ก่อนออกรถทุกครั้งต้องสำรวจว่าไม่มีเด็กๆ อยู่ใกล้รถ
☛ ห้ามปล่อยลูกไว้ลำพังในรถ
☛
วัย 1-5 ปี
หากโดยสารจักรยานควรมีที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กซึ่งยึดติดกับจักรยานอย่างแข็งแรง
และมีเข็มขัดยึดลูกกับที่นั่ง
และมีที่วางเท้าที่ป้องกันเท้าลูกเข้าไประหว่างซี่ล้อจักรยาน
☛
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการโดยสารรถจักรยานยนต์
เนื่องจากวัยนี้ยังไม่สามารถนั่งหลังคนขับตามลำพังได้
☛
ควรสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่โดยสารรถจักรยานและจักรยานยนต์

☛ ระวังอันตรายจากการจมน้ำ ควรตรวจสอบแหล่งน้ำ
และกำจัดแหล่งน้ำไม่จำเป็นในบริเวณใกล้บ้าน
และไม่ปล่อยลูกไว้ใกล้แหล่งน้ำหรือในอ่างอาบน้ำตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ
☛ สอนลูกไม่ให้เดินใกล้แหล่งน้ำ
☛
ควรดูแลใกล้ชิดและให้อยู่ในระยะที่ผู้ดูแลสามารถเอื้อมถึงตัวได้ทันที
หากมีความจำเป็นต้องให้ลูกอยู่ตามลำพังชั่วครู่
☛ ควรให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย เช่น เตียง คอกกั้น สำหรับเด็กเป็นต้น
อย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพังบนที่สูง
☛
วัยนี้ชอบปีนป่าย ควรตรวจสอบเฟอร์นิเจอร์ว่ามีความมั่นคงหรือยึดไว้กับผนัง
และตรวจสอบประตูรั้วบ้านว่ามีการยึดไว้อย่างมั่นคง
เพื่อป้องกันการล้มคว่ำลงมาทับลูกได้
☛ ไม่ควรใช้รถพยุงตัวหรือรถหัดเดิน
เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเดินด้วยตนเองแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้
☛ ควรมีประตูที่กั้นบันไดที่สูงกว่าตัวเด็กและปิดกลอนไว้เสมอ
☛ ซี่ราวบันไดและซี่ลูกกรงระเบียงต้องห่างกันไม่เกิน 9 ซม.
☛ หน้าต่างควรอยู่สูงกว่าพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการปีนป่าย

☛ ของเล่นอื่นๆ ของลูกควรทำจากวัสดุที่ทนทานและปลอดภัย ไม่มีเหลี่ยมคม
สีธรรมชาติหรือใช้สีปลอดสารพิษ ไม่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 3.2 x 5.7 x 2.5 ซม.
ซึ่งหากหลุด หรือลูกนำเข้าปาก อาจสำลัก ติดคอ จนขาดอากาศหายใจได้
☛ อย่าวางถุงพลาสติกไว้ใกล้ลูกเพราะอาจอุดตันทางเดินหายใจได้
☛
ของเล่นที่มีลักษณะกลมและมีขนาดเล็ก เช่น ลูกบอล ลูกแก้ว ลูกหิน
รวมถึงเมล็ดผลไม้
เป็นของที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเอาเข้าปากและเกิดการสำลักได้
☛ ไม่ควรให้ลูกใส่สร้อยคอ และของเล่นของใช้ที่มีสายยาวเกิน 22 ซม.
เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรัดคอได้

☛ ไม่ควรถือเครื่องดื่มหรืออาหารร้อนๆ เมื่ออุ้มลูก
เพราะเสี่ยงต่อการถูกน้ำร้อนลวกได้
☛
ไม่ควรวางของร้อนไว้บนโต๊ะที่มีผ้าปูโต๊ะห้อยชายซึ่งลูกอาจดึงได้
และไม่ควรวางไว้ตรงพื้นที่ลูกอาจวิ่งมาสะดุดได้
☛ ไม่ควรพาลูกเข้าครัวขณะประกอบอาหารเพราะอาจเกิดอันตรายได้
☛ ควรตรวจสอบอุณหภูมิน้ำก่อนอาบน้ำให้ลูกเสมอ
และไม่ทิ้งเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ
☛
ควรติดตั้งปลั้กไฟไว้สูง 1.5 เมตรหรือใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ
ควรเก็บสายไฟให้พ้นมือเด็ก
และควรต่อสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ

☛ ควรจัดให้ลูกนอนในที่นอนของตนเองเป็นสัดส่วนแยกจากเตียงของผู้ปกครอง โดยอาจให้อยู่ในห้องเดียวกันก็ได้ขึ้นอยู่กับบริบทของครอบครัว ควรเลือกเตียง ฟูก หมอน ผ้าห่มที่เหมาะสม โดยหมอนและที่นอนไม่ควรนุ่มจนเกินไป เบาะที่นอนควรมีขนาดพอดีกับเตียงและหลีกเลี่ยงการนำตุ๊กตา และสิ่งอื่นๆ ไปไว้ในที่นอนของลูก

☛ - อย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง นำสุนัข
แมวที่เลี้ยงไว้ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนดทุกครั้ง
☛ - สอนลูกไม่ให้เล่นกับสัตว์จรจัด สุนัขแม่ลูกอ่อน
และลูกสุนัขที่มีแม่อยู่ด้วย
☛ สอนลูกไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง เตะ
แย่งจานอาหาร และแย่งของเล่น
☛ ดูแลบริเวณรอบบ้านอย่าให้มีแมลงหรือสัตว์มีพิษมาทำรัง เช่น ผึ้ง ต่อ
แตน

☛
ควรมีภาชนะ และตู้สำหรับเก็บยาและสารเคมี อย่างเหมาะสม เด็กเปิดไม่ได้
และเก็บให้พ้นมือเด็ก
☛
หากลูกกินยาหรือสารพิษเข้าไป ควรติดต่อศูนย์พิษวิทยา 1367
เพื่อขอคำแนะนำในการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี

☛ หากจะฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรเยี่ยมชมและเลือกสถานที่ที่ดี
ปลอดภัย บุคลากรไว้ใจได้
☛ ผู้ดูแลเด็กควรได้รับการฝึกปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น
หากมีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โทร 1669
☛ไม่ควรเก็บอาวุธปืนไว้ในบ้าน หากจำเป็น
ควรเก็บปืนที่ไม่ได้ใส่กระสุนปืนไว้อย่างมิดชิด
เก็บปืนและกระสุนปืนไว้แยกจากกัน
เรียบเรียงโดย : พญ.รสวันต์ อารีมิตร นพ.ชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ นพ.วิบูลย์ วีระอาชากุล
แหล่งข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย