นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์มีการใช้งานคุกกี้ประเภทที่จำเป็น (Strictly necessary cookies) เพื่อให้เว็บ KhunLook ทำงานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทนี้ขณะที่ใช้งานเว็บ KhunLook โปรดกด "รับทราบ" เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่อ

เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก X

อุปกรณ์ ของเล่นและการป้องกันอุบัติเหตุของลูกวัย 6-12ปี

หมวด: อุปกรณ์ ของเล่น และการป้องกันอุบัติเหตุ เผยแพร่เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2560

 


การโดยสารรถ

☛ หากนั่งรถยนต์ควรนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (car seat) ที่ได้มาตรฐานทุกครั้งตลอดการเดินทาง

☛ เมื่อลูกอายุ 4-7 ปี และลูกมีน้ำหนักหรือส่วนสูงเกินกำหนดการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กแล้ว ให้เปลี่ยนมาใช้ที่นั่งเสริม (booster seat) ซึ่งติดตั้งที่เบาะหลังของรถ
เมื่อลูกอายุ 8-12 ปีควรนั่งในที่นั่งเสริม (booster seat) ซึ่งติดตั้งที่เบาะหลังของรถ จนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดในรถได้พอดี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ได้เมื่ออายุมากกว่า 9 ปี หรือสูงกว่า 140 ซม.
เด็กอายุ < 13 ปี ให้นั่งที่เบาะหลังเท่านั้น
☛เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ หากทุกคนในรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัยและลูกไม่นั่งในที่นั่งนิรภัยไม่ควรติดเครื่องยนต์
☛ก่อนออกรถทุกครั้งต้องสำรวจว่าไม่มีเด็กๆ อยู่ใกล้รถ
ควรสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่โดยสารรถจักรยานและจักรยานยนต์
สอนวิธีการใช้ระบบขนส่งมวลชน การเดินทางเท้า และการข้ามถนนอย่างปลอดภัย
วัยนี้ไม่ให้ปล่อยให้วิ่งเล่นหรือขี่จักรยานบนถนนและทางเท้า
ควรฝึกให้ขี่จักรยานให้ถูกวิธี ปลอดภัย ตามกฎจราจร


การป้องกันการพลัดตกหกล้มและจมน้ำ

ระวังอันตรายจากการจมน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำในชุมชนและแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงเส้นทางที่ใช้เดินทางประจำ
สอนลูกให้รู้จักอันตรายที่อาจเกิดจากการเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรสอนให้รู้จักแหล่งน้ำที่เสี่ยงและการหลีกเลี่ยง
ควรสอนการลอยตัวในน้ำและฝึกว่ายน้ำ
ควรสวมชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ
ควรดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยลูกอยู่ในที่สูงตามลำพัง
ควรให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ควรตรวจสอบสนามเด็กเล่นว่าเครื่องเล่นมีการยึดอยู่กับฐานอย่างปลอดภัย และไม่ควรสูงเกิน 150 ซม.
☛ ควรตรวจสอบอุปกรณ์กีฬา เสาฟุตบอล แป้นบาสเก็ตบอล และเครื่องเล่นสนามที่มีน้ำหนักมาก ว่าจัดอย่างเหมาะสม ยึดติดกับกำแพงหรือพื้นไม่ให้ล้มคว่ำได้ง่าย


การป้องกันอันตรายจากความร้อนและไฟฟ้า

☛ ควรมีป้ายเตือนข้อควรระวังในการใช้เครื่องไฟฟ้าทุกชนิด และควรต่อสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ


การป้องกันอันตรายจากสัตว์กัด

☛ อย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง นำสุนัข แมวที่เลี้ยงไว้ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนดทุกครั้ง
☛ สอนลูกไม่ให้เล่นกับสัตว์จรจัด สุนัขแม่ลูกอ่อน และลูกสุนัขที่มีแม่อยู่ด้วย
☛ สอนลูกไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง เตะ แย่งจานอาหาร และแย่งของเล่น
☛ ดูแลบริเวณรอบบ้านอย่าให้มีแมลงหรือสัตว์มีพิษมาทำรัง เช่น ผึ้ง ต่อ แตน


การป้องกันอันตรายจากยาและสารเคมี

☛ ควรมีภาชนะ และตู้สำหรับเก็บยาและสารเคมี อย่างเหมาะสม เด็กเปิดไม่ได้ และเก็บให้พ้นมือเด็ก
หากลูกกินยาหรือสารพิษเข้าไป ควรติดต่อศูนย์พิษวิทยา 1367 เพื่อขอคำแนะนำในการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี


อื่นๆ

ผู้ดูแลเด็กควรได้รับการฝึกปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น หากมีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โทร 1669
☛ ไม่ควรเก็บอาวุธปืนไว้ในบ้าน หากจำเป็น ควรเก็บปืนที่ไม่ได้ใส่กระสุนปืนไว้อย่างมิดชิด เก็บปืนและกระสุนปืนไว้แยกจากกัน
ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นอันตราย เช่น พลุ ดอกไม้ไฟ
ผู้ดูแลไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อกันหรือรังแกกัน
ผู้ดูแลไม่สนับสนุน ไม่จ้างวานให้ลูกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ของมึนเมาและสิ่งเสพติด และควรเป็นตัวอย่างการปฏิบัติตัวที่ดี
สอนให้รู้จักป้องกันตนเองจากบุคคลอันตราย
สอนให้ลูกรู้จักบอกเมื่อผู้อื่นมากระทำหรือปฏิบัติโดยมิชอบ
ฝึกวิธีการจัดการความขัดแย้งอย่างเหมาะสม เช่น รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น การยอมรับผิด การปรับปรุงตัว


เรียบเรียงโดย : พญ.รสวันต์ อารีมิตร นพ.ชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ นพ.วิบูลย์ วีระอาชากุล

แหล่งข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น