นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์มีการใช้งานคุกกี้ประเภทที่จำเป็น (Strictly necessary cookies) เพื่อให้เว็บ KhunLook ทำงานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทนี้ขณะที่ใช้งานเว็บ KhunLook โปรดกด "รับทราบ" เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่อ

เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก X

การดูแลลูกในช่วงวัย 6 เดือนแรก

หมวด: ดูแลกัน เผยแพร่เมื่อ: 25 มกราคม 2564

 

3 สัปดาห์

     คุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ

คุณปู่คุณย่าคุณตา คุณยาย สามารถเสริมสร้างกำลังใจและให้การช่วยเหลือครอบครับมือใหม่ได้เป็นอย่างมาก อย่าลืมให้โอกาส ครอบครัวมือใหม่ได้เสริมสร้างกำลังใจซึ่งกัน

 

4 สัปดาห์

     หากคุณแม่มีความกังวล เครียดมาก หรือมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ควรหาปรึกษาผู้ที่ไว้วางใจ หรือบุคลากรทางสาธารณสุขนะคะ

 

5 สัปดาห์

     ครอบครัวที่ีสามารถทำหน้าที่ได้ดีทั้งในช่วงที่มีความสุขและความทุกข์นั้น มีลักษณะดังนี้ คือ มีความเป็นผู้นำที่เท่าเทียมกันระหว่างสามีภรรยา และมีความร่วมมือกันอย่างดีระหว่างพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว มีขอบเขตระหว่างรุ่น ระหว่างวัยชัดเจน สมาชิกเป็นตัวของตัวเองอย่างพอดี และยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน สมาชิกมองกันและกันและมองโลกในแง่ดี ใกล้ชิดสนิทสนมมองปัญหาเป็นความท้าทาย เลือกแก้ปัญหาอันเกิดจากความคิดที่แตกต่างได้อย่างเหมาะสม และมีการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิดเผยและไม่อ้อมค้อมแต่รักษาความรู้สึกของสมาชิกในครอบครัว

 

6 สัปดาห์

     คุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสม ด้วยนะคะ คุณปู่คุณย่าคุณตา คุณยาย สามารถเสริมสร้างกำลังใจและให้การช่วยเหลือครอบครับมือใหม่ได้เป็นอย่างมาก อย่าลืมให้โอกาส ครอบครัวมือใหม่ได้เสริมสร้างกำลังใจซึ่งกันและกัน และมีความมั่นใจในการพัฒนาบทบาทของแต่ละคนด้วยนะคะ

 

7 สัปดาห์

    คุณแม่อาจอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ควรจะดีขึ้นแล้วนะคะ หากรู้สึกเศร้าผิดปกติ ท้อแท้สิ้นหวัง ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

 

8 สัปดาห์

     ช่วงนี้ลูก มักจะจ้องหน้าสบตาและสื่อสารกับครอบครัวได้ดีขึ้น ควรจัดกิจกรรมเตรียมลูกเข้านอนทั้งกลางวัน และกลางคืน ให้เป็นแบบแผนมากขึ้น ผู้ดูแลมักจะเริ่มปรับตัวได้และจับจังหวะการกินนอนขับถ่ายของลูกได้มากขึ้น และเด็กๆ ยังคงมีการปรับเปลี่ยนของจังวะอยู่เรื่อยๆ นะคะ

 

9 สัปดาห์

    ควรพูดคุย ร้องเพลง และเล่นกับลูกเมื่อลูกตื่น เพื่อช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างเด็กและครอบครัวค่ะ

 

10 สัปดาห์

    หากมีความเครียด ควรปรึกษาผู้ที่ไว้ใจ หรือปรึกษาบุคลากรทางสาธารณสุข ควรหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว พบปะกับเพื่อนกับญาติบ้างด้วยนะคะ

 

17 สัปดาห์

     หากมีความเครียด ควรปรึกษาผู้ที่ไว้ใจ หรือปรึกษาบุคลากรทางสาธารณสุข ควรหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว พบปะกับเพื่อนกับญาติบ้างด้วยนะคะ

 

19 สัปดาห์

     ลูกอาจจะเริ่มชวนให้มาเล่นตอบโต้กัน จากการตอบสนองซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อใจและความผูกพันนะคะ

 

23 สัปดาห์

     วัยนี้เริ่มแยกแยะคนแปลกหน้าออกจากคนคุ้นเคยได้มากขึ้น เคลื่อนไหวได้มากขึ้นและชอบใช้มือหยิบสิ่งต่างๆ เข้าปาก ควรระวังเรื่องการตกจากที่สูงและการสำลักด้วยนะคะ

 

เรียบเรียงโดย : พญ.รสวันต์ อารีมิตร นพ.ชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ แหล่งข้อมูล กรมอนามัย

แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น