นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์มีการใช้งานคุกกี้ประเภทที่จำเป็น (Strictly necessary cookies) เพื่อให้เว็บ KhunLook ทำงานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทนี้ขณะที่ใช้งานเว็บ KhunLook โปรดกด "รับทราบ" เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่อ

เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก X

เตรียมพร้อมก่อนคลอด

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2565

ช่วงนี้หากคุณแม่พอมีเวลา มาหาข้อมูลเตรียมพร้อมเป็นคุณแม่กันดีไหมคะ คุณหมอขอแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนี้

อาหารของลูก

อาหารหลักของทารก คือ นม นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดเพราะมีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของลูก และมียิ่งกว่าสารอาหาร คือภูมิคุ้มกันในนมแม่ โดยทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่อย่างเดียวโดยการดูดจากเต้าเป็นหลัก ยกเว้นว่ามีข้อห้ามทางการแพทย์ การให้ลูกได้กินนมแม่ยังมีประโยชน์ต่อทั้งแม่และลูกอีกมากมายเลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม...

วัคซีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 27 กันยายน 2565

Covid-19

วัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่แนะนำ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลดโอกาสที่จะเกิดโรคและป่วยหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัคซีนที่อนุมัติให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทยได้แก่ Covid-19 AstraZeneca, Pfizer/BioNTech, Moderna, Sinovac, Sinopharm (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2564)

อ่านเพิ่มเติม...

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อคุณลูกในครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 27 กันยายน 2565

เพื่อความปลอดภัย คุณหมอจะประเมินว่าต้องมีการดูแลครรภ์อย่างไร ทราบไหมครับว่าปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้ ถ้าคุณแม่มีปัจจัยเหล่านี้ ไม่ได้แปลว่าจะเกิดความผิดปกติทุกคนนะครับ เพียงแต่ว่าอาจมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้ครับ ขอคำปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้เลยนะครับ


หากอายุของคุณแม่ในวันที่คาดว่าจะคลอดน้อยกว่า 18 ปี

  • อาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะตัวเล็กหรือน้ำหนักน้อยได้
  • ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม...

การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 27 กันยายน 2565

ทราบไหมครับว่าน้ำหนักของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการดูแลคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ด้วยนะครับ มาดูกันเลยครับว่าคุณแม่ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ต่าง ๆ ควรมีน้ำหนักขึ้นเท่าไรครับ

ดัชนีมวลกาย คำนวณจาก น้ำหนักเป็น (กก.)/ ส่วนสูง (เมตร)2
เช่น น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 55 กก. ส่วนสูง 1.65 เมตร
ดัชนีมวลกาย = 55/(1.65x1.65) = 20.2

อ่านเพิ่มเติม...

อาหารสำหรับคุณแม่แบ่งตามช่วงอายุครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 26 กันยายน 2565

อายุครรภ์ 4-13 สัปดาห์

คุณแม่มือใหม่จะรับประทานอาหารอย่างไร ให้สุขภาพครรภ์และสุขภาพลูกน้อยแข็งแรง

  • ร่างกายจะต้องการพลังงานเพิ่ม เฉลี่ยเพียง 50-100 กิโลแคลอรีต่อวัน
  • การรับประทานอาหารที่หลากหลาย กระจายมื้อย่อย จะช่วยในกรณีที่มีอาการแพ้ คลื่นไส้ อาเจียน
  • สารอาหารที่สำคัญในช่วงแรก ได้แก่ โฟลิก และธาตุเหล็ก
  • โฟลิก ช่วยป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด และการเกิดเพดานโหว่
  • ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด เพื่อขนส่งออกซิเจนผ่านรกไปหาลูก

อ่านเพิ่มเติม...

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 26 กันยายน 2565

คุณแม่มือใหม่ รับประทานอย่างไรให้สุขภาพครรภ์และสุขภาพคุณลูกน้อยแข็งแรง

  1. หัวใจหลัก 4 ประการ คือ
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม
    • รับประทานอาหารแต่ละหมู่อย่างสมส่วน
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    • รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริมให้เหมาะสมตามอายุครรภ์

    อ่านเพิ่มเติม...

การตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 26 กันยายน 2565

นับตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 เดือนมีหลายสิ่งที่จะต้องเตรียมการเพื่อให้การตั้งครรภ์ราบรื่นปลอดภัย และไปยังจุดหมายที่ทุกท่านรอคอย คือการพบหน้าคุณลูก เมื่อมาฝากครรภ์คุณแม่จะได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ การฝากครรภ์จึงเปรียบเสมือนกับจุดตรวจความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจตลอดทาง

  1. การตรวจเลือดขณะฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร
  2. การตรวจเลือดขณะฝากครรภ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์และการวางแผนการคลอด คุณแม่จะได้รับการตรวจเลือดอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ ในช่วงไตรมาสที่ 1 (นิยมตรวจในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์) และในช่วงไตรมาสที่ 3

    อ่านเพิ่มเติม...

อาการที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์

หมวด: สุขภาพครรภ์ เผยแพร่เมื่อ: 13 กันยายน 2565
  1. อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนศีรษะ
  2. อาการเหล่านี้เป็นผลจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ 5-7 สัปดาห์ และอาการจะเพิ่มขึ้นในช่วง อายุครรภ์ 9-11 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ ลดลงและดีขึ้นช่วงหลังอายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์ครับ แนะนำให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายทีละน้อย ดื่มน้ำมากขึ้น นอนพักกลางวัน แต่หากอาเจียนมาก รับประทานไม่ได้เลย หน้ามืดเป็นลมบ่อยแนะนำให้มาพบคุณหมอนะครับ

    อ่านเพิ่มเติม...

การดูแลลูกในสัปดาห์แรก

หมวด: ดูแลกัน เผยแพร่เมื่อ: 26 มกราคม 2564

 

แรกเกิด

     นอกจากคุณแม่แล้วคุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสมด้วยนะ

อ่านเพิ่มเติม...

การดูแลลูกในช่วงวัย 6 เดือนแรก

หมวด: ดูแลกัน เผยแพร่เมื่อ: 25 มกราคม 2564

 

3 สัปดาห์

     คุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ

อ่านเพิ่มเติม...

ใช้สื่อจอใสอย่างไรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

หมวด: พัฒนาการ เผยแพร่เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2563

 

            พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่เริ่มให้เด็กใช้สื่อจอใสช้า เลือกรายการทางการศึกษา มีเนื้อหาเอื้อต่อสังคม หรือมีคุณภาพสูง ลดการเข้าถึงสื่อที่มีเนื้อหารุนแรง สำหรับผู้ใหญ่

อ่านเพิ่มเติม...

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น